คราม

วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ประวัติ วง bodyslam












บอดี้สแลม 
Bodyslam เป็นวงดนตรีร็อกสัญชาติไทย และได้รับความนิยมในประเทศไทย สมาชิกวงที่เป็นที่รู้จักกันดีจากวงนี้คือนักร้องนำของวง อาทิวราห์ คงมาลัย (ตูน) โดยเพลงส่วนใหญ่ได้อิทธิพลมาจากดนตรีร็อกจากฝั่งสหรัฐอเมริกาในยุคต้น 90 ผสมผสานกับดนตรีแนวปรเกรสซีฟร็อก

ช่วงแรกของวง (2539–2541)

บอดี้สแลมเดิมเรียกว่า ละอ่อน ในปี พ.ศ. 2539 วงได้ชนะการประกวดวงดนตรี Hot Wave Music Award และ ได้ออกจำหน่ายอัลบั้มกับค่ายมิวสิก บั๊กส์ ในชื่อ ละอ่อน ในปี พ.ศ. 2540 ด้วยแนวเพลงป็อปร็อก เพลงหนึ่งในอัลบั้ม "ได้หรือเปล่า" เป็นเพลงที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดของวง ต่อมาได้ออกอัลบั้มชุดที่สอง เทพนิยายนายเสนาะ ในปี พ.ศ. 2541 แต่หลังจากนั้นวงก็ได้แยกย้ายกันไปเรียนต่อ

อัลบั้ม บอดี้สแลม และ ไดรฟ์ (2545–2547)

วงกลับมาอีกครั้งในปี พ.ศ. 2545 ด้วยชื่อใหม่ บอดี้สแลม และมีเปลี่ยนแนวเพลงไปเป็นร็อกที่หนักหน่วงมากขึ้น ด้วยสมาชิกเพียงสามคนที่เหลืออยู่ ได้แก่ นักร้องนำ อาทิวราห์ คงมาลัย มือเบส ธนดล ช้างเสวก และมือกีตาร์ รัฐพล พรรณเชษฐ์ วงอธิบายว่า ที่มาของชื่อนี้มาจากชื่อท่าหนึ่งของมวยปล้ำ แต่ถ้าแปลความหมายตรงตัว บอดี้ แปลว่าร่างกาย สแลม คือการทุ่ม เมื่อมารวมกันเป็น บอดี้สแลม ก็จะหมายถึง การทุ่มสุดตัว คือการทำงานเพลงกันเต็มที่แบบทุ่มสุดตัว ออกจำหน่ายอัลบั้มชุดแรกของวงที่มีชื่อเดียวกันกับชื่อวงใหม่และได้ประสบความสำเร็จ ต่อมาได้ออกจำหน่ายอัลบั้มชุดที่สอง Driveในปี พ.ศ. 2546 เป็นอัลบั้มที่ประสบความสำเร็จเท่ากันกับอัลบั้มชุดแรก บอดี้สแลมได้ชนะรางวัลมิวสิกวิดีโอในสาขา "กลุ่มศิลปินที่เป็นที่ชื่นชอบ" ในมิวสิกวิดีโอของเพลง "ปลายทาง"ในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2547 บอดี้สแลมได้ออกคอนเสิร์ต HOTWAVE LIVE: BODYSLAM MAXIMUM LIVE จัด ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) ซึ่งเป็นคอนเสิร์ตที่ทางคลื่นร้อน 91.5 Hot Wave จัดให้โดยเป็นคอนเสิร์ตครั้งแรกของทั้ง 3 หนุ่ม ตูน-อาทิวราห์ คงมาลัย, ปิ๊ด-ธนดล ช้างเสวก, เภา-รัฐพล พรรณเชษฐ โดยมีศิลปินรับเชิญคือ ปู แบล็คเฮด, อ๊อฟ บิ๊กแอส, ป๊อด โมเดิร์นด็อก

อัลบั้ม บีลีฟ (2548–2549)

หลังจากอัลบั้มที่สอง บอดี้สแลมได้มีการเปลี่ยนแปลงมากมาย วงได้ออกจากค่ายมิวสิก บั๊กส์และได้เซ็นสัญญากับจีนี่เรคคอร์ดส ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ค่ายเพลงใหญ่ของประเทศไทย ต่อมามือกีตาร์ของวง เภา รัฐพล พรรณเชษฐ์ ได้ออกจากวงบอดี้สแลม และออกอัลบั้มเดี่ยวในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ในอัลบั้มชื่อ Present Perfect สังกัดค่ายสนามหลวง ทำให้บอดี้สแลมเหลือสมาชิกวงอยู่ 4 คน และได้คว้าตัวมือกีตาร์คนใหม่ คือ ยอด ธนชัย ตันตระกูล และออกสตูดิโออัลบั้มชุดที่สามของวง Believe ในปี พ.ศ. 2548 ในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 บอดี้สแลมได้ออกคอนเสิร์ตวันคุ้มครองโลก ในชื่อ Bodyslam Believe Concert ที่ Thunder Dome เมืองทองธานี โดยมีแขกรับเชิญ 2 คน คือ บอย - อนุวัฒน์ สงวนศักดิ์ภักดี (บอย PEACEMAKER) และ เภา - รัฐพล พรรณเชษฐ์ อดีตมือกีตาร์ของวง ในวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ได้ออกคอนเสิร์ต BIG BODY ที่อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี โดยจัดร่วมกับวงบิ๊กแอส และได้แสดงร่วมกับวงบิ๊กแอสอีกครั้งในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2549 ในคอนเสิร์ต M-150 สุดชีวิตคนไทย ที่อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี และยังได้แสดงร่วมกับ โปเตโต้, เสก โลโซ, ลานนา คัมมินส์, และ ไมค์ ภิรมย์พร

อัลบั้ม เซฟมายไลฟ์ (2550–2551)

ในวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2550 บอดี้สแลมได้ออกจำหน่ายสตูดิโออัลบั้มชุดที่สี่ เซฟมายไลฟ์ (Save My life) และได้ออกคอนเสิร์ตใหญ่ในกรุงเทพในต้นเดือนตุลาคมปีเดียวกัน ในวันที่ 20-21 ตุลาคม พ.ศ. 2550 บอดี้สแลมได้ออกคอนเสิร์ต BODYSLAM SAVE MY LIFE CONCERT ที่อินดอร์ สเตเดี้ยม หัวหมาก โดยมีแขกรับเชิญ ได้แก่ โก้ Mr.Saxman ในเพลง "นาฬิกาตาย", ปู พงษ์สิทธิ์ คัมภีร์ ในเพลง "ความเชื่อ", "แม่" และ ปนัดดา เรืองวุฒในเพลง "แค่หลับตา", แอ๊ด คาราบาว ในเพลง "ความเชื่อ", "รักต้องสู้" และทีมเชียร์ลีดเดอร์จากมหาวิทยาลัยรังสิต ในเพลง "ท่านผู้ชม"
ความสำเร็จจากอัลบั้มใหม่ทำให้วงมีแฟนคลับขนาดใหญ่ขึ้น และกลายเป็นหนึ่งในวงดนตรีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศไทย อัลบั้มเซฟมายไลฟ์ ได้ชนะในสีสันอะวอร์ด ครั้งที่ 20 ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2551 สาขาศิลปินกลุ่มร็อกยอดเยี่ยม อัลบั้มร็อกยอดเยี่ยม และเพลงร็อกยอดเยี่ยม สำหรับเพลง "ยาพิษ"[3] และได้ออกคอนเสิร์ตในวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ในชื่อคอนเสิร์ต EVERY BODYSLAM CONCERT ที่อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี โดยมีศิลปินรับเชิญ ได้แก่ ฟักแฟง โน มอร์ เทียร์-ไปรยา มลาศรี ในเพลง "แค่หลับตา" และบุดด้าเบลส

อัลบั้ม คราม (2552–2555)

ซิงเกิล "คราม" ออกในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2552 พร้อมกับสตูดิโออัลบั้มชุดที่ห้าของวง คราม ออกจำหน่ายในกลางปี พ.ศ. 2553 (หลังจากเลื่อนไปเป็นมิถุนายน พ.ศ. 2553 จากการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553) วงได้ออกแสดงคอนเสิร์ตใหญ่ที่เรียกว่า บอดี้สแลมไลฟ์อินคราม ที่ราชมังคลากีฬาสถาน ในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ด้วยผู้ชมมากกว่า 65,000 คน[4] โดยมีศิลปินรับเชิญ ได้แก่ ศิริพร อำไพพงษ์ ในเพลง "คิดฮอด" อุ๋ย บุดด้าเบลส และฟักกลิ้ง ฮีโร่ ในเพลง "Sticker" และวงบิ๊กแอส และได้สำเร็จทัวร์ในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554 ด้วยคอนเสิร์ต บอดี้สแลมไลฟ์อินลาว : เวิลด์ทัวร์ ที่สนามกีฬาแห่งชาติลาว และในปี พ.ศ. 2555 ได้จัดคอนเสิร์ตบอดี้สแลมนั่งเล่น ที่ IMPACT EXHIBITION HALL 1 ในวันที่ 10-12 กุมภาพันธ์[5]

อัลบั้ม ดัม-มะ-ชา-ติ (2556–ปัจจุบัน)

สตูดิโออัลบั้มชุดที่หกของวง ดัม-มะ-ชา-ติ (dharmajāti) ในภาษาสันสกฤตหมายถึง "ธรรมชาติ" ออกจำหน่ายในวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557 และมีกำหนดการออกคอนเสิร์ตบอดี้สแลม ปรากฏการณ์ ดัม-มะ-ชา-ติ โดยเป็นการทัวร์คอนเสิร์ตเต็มรูปแบบครั้งแรกของวง เพื่อสนับสนุนอัลบั้ม ดัม-มะ-ชา-ติ โดยเริ่มแสดงตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2557 – 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
และเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ยุทธนา บุญอ้อม ได้ประกาศยกเลิกทัวร์ bodyslam ปรากฏการณ์ ดัม-มะ-ชา-ติ ที่เหลือทั้งหมด โดยจัดที่จังหวัดนครราชสีมาเป็นจังหวัดสุดท้าย เนื่องจากเหตุการณ์ความไม่พอใจของแฟนเพลงในกรณีการประกาศลดราคาค่าตั๋วเข้าชมร่วมกับสปอนเซอร์ จากเดิม 1,500 บาท เหลือ 399 บาท [9]

สมาชิกของวง

สมาชิกปัจจุบัน
  • อาทิวราห์ คงมาลัย (ตูน) – ร้องนำ, กีตาร์ (พ.ศ. 2545–ปัจจุบัน)
  • ธนดล ช้างเสวก (ปิ๊ด) – กีตาร์เบส, ร้องประสาน (พ.ศ. 2545–ปัจจุบัน)
  • ธนชัย ตันตระกูล (ยอด) – กีตาร์นำ (พ.ศ. 2548–ปัจจุบัน)
  • สุชัฒติ จั่นอี๊ด (ชัช) – กลอง (พ.ศ. 2546–ปัจจุบัน) (แบกอัป:พ.ศ. 2545–2546)
  • โอม เปล่งขำ (โอม) – คีย์บอร์ด, ร้องประสาน (พ.ศ. 2553–ปัจจุบัน) (แบ็กอัพ: พ.ศ. 2550–2553)
อดีตสมาชิก
  • รัฐพล พรรณเชษฐ์ (เภา) – กีตาร์นำ (พ.ศ. 2545–2548)
หมายเหตุ
  • อัลบั้มที่ 2 ชัชเป็นมือกลองแบ็กอัพ และตั้งแต่อัลบั้มที่ 3 จนถึงปัจจุบัน ได้ร่วมเป็นสมาชิกของวง
  • ในอัลบั้ม 4, 5 และ 6 องค์ประกอบของดนตรีมีอิเล็กทรอนิกส์เยอะขึ้น จึงได้ชวนโอมมาร่วมงานเป็นแบ็กอัพด้วยกัน จนปัจจุบันได้ร่วมเป็นสมาชิกของวง

ผลงาน

ผลงานอัลบั้ม

หมายเหตุ: สมาชิกของวงที่มีชื่อเล่นเป็นตัวเอน คือ สมาชิกแบกอัปในอัลบั้มนั้น ๆ ของวง
ชื่ออัลบั้มปีที่วางแผงรายชื่อเพลงสมาชิกในอัลบั้ม
Bodyslam9 กรกฎาคม พ.ศ. 2545
Drive9 กันยายน พ.ศ. 2546
Believe22 เมษายน พ.ศ. 2548
Save my Life18 กันยายน พ.ศ. 2550
คราม9 มิถุนายน พ.ศ. 2553
dharmajāti25 กันยายน พ.ศ. 2557

ผลงานด้านโฆษณ

พ.ศ. 2548
  1. โฆษณา YAMAHA SPARK 135 คู่กับ ไปรยา สวนดอกไม้
  2. โฆษณา M-150 ชุด "พลังดนตรีเปิดหมวก" ตูน Bodyslam ร่วมกับ แด๊กซ์ Big Ass ลานนา คัมมินส์ เสก โลโซ และ ขุนอินทร์
พ.ศ. 2551
  1. โฆษณา M-150 ชุด "ไม่ต้องกลัวอะไร ถ้ามีปีก"
พ.ศ. 2553
  1. เป๊ปซี่ ภายใต้คอนเซป ดนตรีเต็มที่ด้วยกันได้ Bodyslam ร่วมกับ เอ็นโดฟริน และ ชิน ชินวุฒิ
พ.ศ. 2554
  1. เป๊ปซี่ ดนตรีก็เต็มที่ด้วยกันได้ " Bodyslam" ร่วมกับ ดา เอ็นโดฟริน และ ชิน ชินวุฒิ
  2. เป๊ปซี่ "ดนตรีก็เต็มที่ด้วยกันได้ " Bodyslam" ร่วมกับ ทีมนักแสดงภาพยนตร์เรื่อง "Suck Seed ห่วยขั้นเทพ"
  3. แต่งเพื่อเป็นกำลังใจให้คนน้ำท่วม ชื่อเพลง ด้วยกัน
  4. โฆษณา CTRL UV protect lotion SPF 50

เกียรติประวัติ

รางวัล

ปีประเภทรางวัลหมายเหตุ
พ.ศ. 2548รางวัลศิลปินสุดฮิตแห่งปี
จากงาน Hitz 40 Awards 2005
พ.ศ. 2548รางวัลเพลงฮิตแห่งปี
จากงาน Hitz 40 Awards 2005
เพลง "ขอบฟ้า"
พ.ศ. 2548รางวัลเพลงยอดเยี่ยม
จากงานคมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 3
เพลง "ความเชื่อ"
พ.ศ. 2549รางวัลศิลปินยอดนิยมประเทศไทย
จากงานเอ็มทีวี เอเชีย อวอร์ดส
ได้เข้าชิง 1 ใน 5 ของงานเอ็มทีวี เอเชีย
พ.ศ. 2549รางวัล Song of the Year
จากงาน FAT AWARDS ครั้งที่ 4 ณ ลานกลางแจ้ง ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
เพลง "ความเชื่อ"
พ.ศ. 2549รางวัลอัลบั้มยอดนิยม
จากงาน FAT AWARDS ครั้งที่ 4 ณ ลานกลางแจ้ง ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
อัลบั้ม "บีลีฟ"
พ.ศ. 2549รางวัลศิลปินร็อกยอดเยี่ยมสุดซี้ดประจำปี
จากงาน Seed Awards ครั้งที่ 1 ประจำปี 2005
พ.ศ. 2549รางวัลเพลงยอดเยี่ยมสุดซี้ดประจำปี
จากงาน Seed Awards ครั้งที่ 1 ประจำปี 2005
เพลง "ความเชื่อ"
พ.ศ. 2550รางวัลศิลปินกลุ่มร็อกยอดเยี่ยม
จากงานสีสันอวอร์ด ครั้งที่ 20
พ.ศ. 2550รางวัลอัลบั้มร็อกยอดเยี่ยม
จากงานสีสันอวอร์ด ครั้งที่ 20
อัลบั้ม "เซฟมายไลฟ์"
พ.ศ. 2550รางวัลเพลงร็อกยอดเยี่ยม
จากงานสีสันอวอร์ด ครั้งที่ 20
เพลง "ยาพิษ"
พ.ศ. 2550จากงานศิลปินกลุ่มยอดเยี่ยม
จากงานสตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ดส 2007 ครั้งที่ 6
อัลบั้ม "เซฟมายไลฟ์"
พ.ศ. 2550รางวัลเพลงยอดเยี่ยม
จากงานคม ชัด ลึก อวอร์ด ครั้งที่ 5 ประเภทเพลงไทยสากล
เพลง "ยาพิษ"
พ.ศ. 2551รางวัล Record of The Year
จากงาน FAT AWARDS ครั้งที่ 6
เพลง "ยาพิษ"
พ.ศ. 2551รางวัลวงดนตรียอดนิยม
จากงาน Music Express Awards 2007
พ.ศ. 2551รางวัลมิวสิกวีดีโอยอดนิยม
จากงาน Music Express Awards 2007
เพลง "ยาพิษ"
พ.ศ. 2551รางวัลศิลปินร็อกยอดเยี่ยมสุดซี้ดประจำปี
จากงาน Seed Awards ครั้งที่ 3
พ.ศ. 2551รางวัลอัลบั้มร็อกยอดเยี่ยมสุดซี้ดประจำปี
จากงาน Seed Awards ครั้งที่ 3
อัลบั้ม "เซฟมายไลฟ์"
พ.ศ. 2551รางวัลนักร้องสุดปลื้ม
จากงาน 94 EFM festival ครั้งที่ 2
พ.ศ. 2553รางวัลศิลปินร็อกยอดนิยมสุดซี๊ดประจำปี
จากงาน SEED AWARDS ครั้งที่ 5
พ.ศ. 2553รางวัลสาขาศิลปินยอดนิยม
จาก Young & Smart Vote 2010
พ.ศ. 2553รางวัลศิลปินที่สุดแห่งปี 2010
จาก Channel [V] Thailand รายการ I am Siam กับที่สุดแห่งปี 2010
พ.ศ. 2554รางวัลศิลปินกลุ่มยอดเยี่ยม
จากงานคม ชัด ลึก อวอร์ด ครั้งที่ 8 ประเภทเพลงไทยสากล
พ.ศ. 2554รางวัลเพลงยอดเยี่ยม
จากงานคม ชัด ลึก อวอร์ด ครั้งที่ 8 ประเภทเพลงไทยสากล
เพลง "คิดฮอด"
พ.ศ. 2554รางวัลอัลบั้มยอดเยี่ยม
จากงานคม ชัด ลึก อวอร์ด ครั้งที่ 8 ประเภทเพลงไทยสากล
อัลบั้ม "คราม"
พ.ศ. 2554รางวัลศิลปินร็อกยอดเยี่ยมสุดซี้ดประจำปี
จากงาน Seed Awards ครั้งที่ 6
พ.ศ. 2554รางวัลอัลบั้มร็อกยอดเยี่ยมสุดซี้ดประจำปี
จากงาน Seed Awards ครั้งที่ 6
อัลบั้ม "คราม"
พ.ศ. 2554รางวัลอัลบั้มยอดเยี่ยมสุดซี้ดประจำปี
จากงาน Seed Awards ครั้งที่ 6
อัลบั้ม "คราม"
พ.ศ. 2554รางวัลเพลงยอดเยี่ยมสุดซี้ดประจำปี
จากงาน Seed Awards ครั้งที่ 6
เพลง "คิดฮอด"
พ.ศ. 2554รางวัลเพลงในการบันทึกเสียงยอดเยี่ยม
จากงานรางวัลสีสันอวอร์ดส์ ครั้งที่ 23
เพลง "คิดฮอด"
พ.ศ. 2554รางวัลเพลงร็อกยอดเยี่ยม
จากงานรางวัลสีสันอวอร์ดส์ ครั้งที่ 23
เพลง "คราม"
พ.ศ. 2554รางวัลศิลปินกลุ่มโดนใจ
จากงาน PlayPark FanFest 2011
พ.ศ. 2554รางวัลศิลปินไทยกลุ่มยอดนิยม
จากงาน Channel [V] Thailand Music Video Awards ครั้งที่ 7
พ.ศ. 2555รางวัลศิลปิน Popular Vote
จากงาน The Guitar 1st Decade Anniversary Awards 2011
พ.ศ. 2555รางวัลศิลปินโชว์ยอดเยี่ยมสุดซี้ดประจำปี
จากงาน Seed Awards ครั้งที่ 7
พ.ศ. 2555รางวัลศิลปินกลุ่ม มณีเมขลา ดีเด่นยอดนิยม
จากงานรางวัลมณีเมขลา ครั้งที่ 24 พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2555รางวัลศิลปินร๊อคยอดนิยม
จากงาน Kazz Award 2012
พ.ศ. 2555รางวัลศิลปินรุ่นเดอะ ผู้สร้างแรงบันดาลใจในรอบ 12 ปี
จากงาน Fat award 2012
พ.ศ. 2557รางวัลสุดยอดเพลงแห่งปี
จากงาน แบง มิวสิก อวอร์ดส์ 2014
เพลง "เรือเล็กควรออกจากฝั่ง"
พ.ศ. 2557รางวัลสุดยอดมิวสิกวิดีโอแห่งปี
จากงาน แบง มิวสิก อวอร์ดส์ 2014
เพลง "เรือเล็กควรออกจากฝั่ง"
  • ตัวหนังสือสี น้ำเงิน เป็นรางวัลที่ได้รับเกี่ยวกับศิลปิน
  • ตัวหนังสือสี เขียว เป็นรางวัลที่ได้รับเกี่ยวกับผลงาน

ผลสำรวจ

ปีประเภทผลสำรวจหมายเหตุ
พ.ศ. 2552วงดนตรีที่เป็นที่ชื่นชอบมากที่สุด
จากผลสำรวจที่สุดแห่งปี 2552
สำรวจโดยเอแบคโพลล์
อันดับที่ 1 ร้อยละ 18.6
พ.ศ. 2553วงดนตรีที่เป็นที่ชื่นชอบมากที่สุด
จากผลสำรวจที่สุดแห่งปี 2553
สำรวจโดยเอแบคโพลล์
อันดับที่ 1 ร้อยละ 29.2
พ.ศ. 2554นักร้องฝ่ายชาย ขวัญใจประชาชน
จากผลสำรวจดารานักร้อง นักแสดง ขวัญใจประชาชนที่สุดแห่งปี 2554
สำรวจโดยเอแบคโพลล์
อันดับที่ 3 ร้อยละ 8.7
พ.ศ. 2555วงดนตรีที่เป็นที่ชื่นชอบมากที่สุด
จากผลสำรวจที่สุดแห่งปี 2555
สำรวจโดยเอแบคโพลล์
อันดับที่ 1 ร้อยละ 25.1
ที่มา-http://th.wikipedia.org/wiki/

สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดนราธิวาส

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดนราธิวาส

พระราชตำหนักทักษิณราชนิเวศน์


                ตั้งอยู่บนยอดเขาตันหยง ติดชายทะเล ตำบลกะลุวอเหนือ อ.เมือง จ.นราธิวาส อยู่ห่างจากตัวอำเภอเมืองนราธิวาส ประมาณ กิโลเมตร ไปตามถนนสายนราธิวาส - อำเภอตากใบ ครอบคุลมเนื้อที่ประมาณ 300 ไร่ บริเวณเชิงเขาตันหยงและหาดทรายริมทะเล สร้างขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516 

                สำหรับเป็นที่ประทับแรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงค์ เมื่อเสด็จแปรพระราชฐานยังจังหวัดชาย แดนภาคใต้ ช่วงเดือนสิงหาคม - ตุลาคม ของทุกปี ลักษณะอาคาร ประทับก่ออิฐถือปูน ทรงปั้นหยาสมัยใหม่ตามแบบนิยมของภาคใต้ แบ่งเป็นอาคารหมู่บน 
ซึ่งเป็นที่ประทับ และตำหนักของกองราชเลขาฯ และหมู่อาคารล่างอันเป็นที่พักของทหารมหาดเล็ก ในบริเวณมีแปลงทดลองปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ยืนต้น รวมถึงกรงเลี้ยงไก่ฟ้า นก และสัตว์ป่าพันธ์ต่างๆ ท่ามกลางแวดล้อมพรรณไม้ ป่าดงดิบ หายากของภาคใต้ และไม้ใหญ่ร่มรื่นสวยงาม ส่วนบริเวณด้านล่าง จัดเป็นศูนย์ศิลปาชีพพิเศษ 

*********************************************************************

มัสยิด 300 ปี 
ตะโละมาเนาะ
 

                บ้านตะโละมาเนาะ ตำบลลุโบะสาวอ ห่างจากจังหวัดนราธิวาส เป็นระยะทาง 25 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 42 แล้วแยกที่บ้านบือราแง ห่างจากตัวอำเภอบาเจาะ ประมาณ ๔ กิโลเมตร แยกจากถนนสายปัตตานี-นราธิวาสก่อนถึงอำเภอยังมีทางแยกขวาไปถึงมัสยิดสร้างด้วยไม้ตะเคียนทั้งหลัง ตั้งตระหง่านมากว่า ๓๐๐ ปี ใช้สลักไม้ยึดหลักแทนตะปู หรือสกรูเหล็ก
                    รูปทรงของอาคารเป็นแบบไทยพื้นเมืองประยุกต์เข้ากับศิลปะจีน และมลายูออกมาได้ลงตัว ส่วนเด่นที่สุดของอาคาร คือ เหนือหลังคาจะมีฐานมารองรับจั่วบนหลังคาอยู่ชั้นหนึ่ง ส่วนหออาซานซึ่งมีลักษณะเป็นเก๋งจีน ก็ตั้งอยู่บนหลังคาส่วนหลัง ฝาเรือนใช้ไม้ทั้งแผ่นแล้วเจาะหน้าต่าง ส่วนช่องลมแกะเป็นลวดลาย ใบไม้ ดอกไม้สลับลายจีน  ปัจจุบันมัสยิดนี้ยังใช้เป็นสถานประกอบศาสนกิจของชาวมุสลิม หากต้องการเข้าชมภายในต้องได้รับอนุญาตจากโต๊ะอิหม่ามประจำหมู่บ้าน โดยทั่วไปเข้าชมได้บริเวณภายนอกเท่านั้น นอกจากนั้นหมู่บ้านตะโละมาเนาะในอดีตยังเป็นแหล่งผลิตคัมภีร์อัลกุรอานที่เขียนด้วยมือ

**************************************************************************
พระพุทธอุทยานเขากง

                พระพุทธอุทยานเขากง มีเนื้อที่ 142 ไร่ ตั้งอยู่ที่ตำบลลำภู จากตัวเมืองใช้เส้นทางนราธิวาส-ระแงะ (ทางหลวงหมายเลข 4055) ประมาณ กิโลเมตร จะมองเห็นวัดเขากง และพระพุทธรูปทักษิณมิ่งมงคลสีทองปางปฐมเทศนาขัดสมาธิเพชรอยู่บนยอดเขา เป็นศิลปะสกุลช่างอินเดียตอนใต้ เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2509 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2512 องค์พระเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กประดับด้วยโมเสกสีทอง หน้าตักกว้าง 17 เมตร ความสูงวัดจากพระเกศบัวตูมถึงบัวใต้พระเพลา24 เมตร จัดเป็นพระพุทธรูปกลางแจ้งที่งดงามและใหญ่ที่สุดในภาคใต้ 


                เนินเขาลูกถัดไปมีเจดีย์สิริมหามายาซึ่งเป็นทรงระฆัง เหนือซุ้มประตูทั้ง ทิศมีเจดีย์รายประดับอยู่ ภายในประดิษฐานพระพรหม บนยอดสุดบรรจุพระบรมสารีริกธาตุอันศักดิ์สิทธิ์ เนินเขาถัดไปอีกลูกหนึ่งเป็นที่ตั้งของอุโบสถ ผนังด้านนอกทั้งสี่ด้านประดับกระเบื้องดินเผาแกะสลัก ด้านหลังเป็นรูปช้างหมอบถวายดอกบัว หน้าบันเป็นรูปนักรบมีเทวดาถือคนโทถวาย

*****************************************************

มัสยิดกลางจังหวัดนราธิวาส

                มัสยิดกลาง ตั้งอยู่ที่บ้านบางนรา ก่อนถึงหาดนราทัศน์ เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจของชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม มัสยิดกลางนราธิวาสนี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2524 เป็นมัสยิดกลางประจำจังหวัดแห่งที่ สร้างเป็นอาคาร 3ชั้น แบบอาหรับ ชั้นล่างจะเป็นห้องประชุมใหญ่ ห้องทำละหมาดอยู่ ชั้นบน ยอดเป็นโดมขนาดใหญ่ มีหอสูงสำหรับส่งสัญญาณอาซานเรียกชาวมุสลิมเข้ามาละหมาด
******************************************************
น้ำตกปาโจ
             ตั้งอยู่ที่บ้านปาโจ ตำบลบาเจาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาสเป็นน้ำตกใหญ่ที่มีน้ำตลอดปี แต่ในหน้าแล้งน้ำค่อนข้างน้อย มีความสูงประมาณ 60 เมตร มีทางขึ้นไปสู่ต้นน้ำเป็นชั้นๆ รวม 9 ชั้น นับว่าเป็นน้ำตกที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดและสวยงามแห่งหนึ่งของภาคใต้ เป็นส่วนหนึ่งของอุทยาน แห่งชาติบูโด - สุไหงปาดี มีพื้นที่คลอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอบาเจาะ อำเภอยี่งอ อำเภอระแง อำเภอรือเสาะ อำเภอสุไหงปาดี อำเภอจะแนะ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส อำเภอรามัน จังหวัดยะลา และอำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี

จุดสนใจอีกอย่างหนึ่งของน้ำตกแห่งนี้คือการมี ใบไม้สีทองหรือ ย่านดาโอ๊ะ พันธุ์ไม้ชนิดนี้ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกในโลกที่นี่ เมื่อปี พ.ศ. 2531 ใบไม้สีทองเป็นไม้เลื้อย มีลักษณะใบคล้ายใบชงโคหรือใบเสี้ยว แต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก บางใบใหญ่กว่าฝ่ามือเสียอีก มีขอบหยักเว้าเข้าทั้งที่โคนใบ และปลายใบ ลักษณะคล้ายวงรีสองอันอยู่ติดกัน ทุกส่วนของใบจะปกคลุมด้วยขนกำมะหยี่เนียนนุ่ม มีสีทองหรือสีทองแดงเหลือบรุ้งเป็นประกายงดงามยามต้องแสงอาทิตย์ สามารถมองเห็นได้จากระยะไกล และยังมีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ หายาก มีราคาแพง และกำลังจะสูญพันธุ์ คือ หวายตะค้าทอง

****************************************************

วนอุทยานอ่าวมะนาว


            สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จมาทรงเยี่ยมราษฎรในบริเวณพื้นที่บ้านบางมะนาว หมู่ที่ ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ทรงมีพระราชดำริให้มีการปรับปรุงด้านต่างๆ ทั้งทางเศรษฐกิจ การศึกษา วัฒนธรรมและส่งเสริมการท่องเที่ยว ซึ่งต่อมาสำนักงานป่าไม้เขตปัตตานีได้สนองพระราชดำริดังกล่าว โดยทำการสำรวจพื้นที่บริเวณป่าสงวนแห่งชาติพิเศษป่าเขาตันหยง ในพื้นที่นอกเขตพระราชฐานพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ เพื่อจัดตั้งเป็นวนอุทยาน มีเนื้อที่ประมาณ 720ไร่ และตั้งชื่อว่า วนอุทยานอ่าวมะนาว” โดยกรมป่าไม้ได้ขึ้นทะเบียนเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2536

**********************************************

ชายหาดนราทัศน์ 

                 ชายหาดนราทัศน์ เป็นหาดทรายขาวสะอาดยาวประมาณ กิโลเมตร ไปสิ้นสุดที่ปลายแหลมด้านปากแม่น้ำบางนราซึ่งใช้เป็นสถานที่จัดการแข่งขันเรือกอและที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีด้วย แนวสนทำให้บรรยากาศริมทะเลร่มรื่นมากขึ้น ชาวบ้านนิยมมาพักผ่อนหย่อนใจกันที่นี่ ใกล้ๆ กันมีหมู่บ้านชาวประมงตั้งกระจัดกระจายตามริมแม่น้ำบางนรา และบริเวณเวิ้งอ่าวมีเรือกอและของชาวประมงจอดยู่มากมาย อยู่เลยจากตัวเมืองนราธิวาสไปตามถนนสายพิชิตบำรุง ประมาณ กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถใช้บริการรถจักรยานยนต์ รถสามล้อถีบหรือรถสองแถวเล็กจากตัวเมืองนราธิวาสไปยังหาดนราทัศน์ได้สะดวก
****************************************************
วัดชลธาราสิงเห (วัดพิทักษ์แผ่นดินไทย)
             เป็นวัดเก่าแก่ ตั้งอยู่หมู่ ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จาก สี่แยกตลาดอำเภอตากใบแยกซ้ายประมาณ 100เมตร เมื่อครั้งอังกฤษได้มลายูเป็นเมืองขึ้นนั้น อังกฤษพยายามจะรวมเมืองนราธิวาสไว้ในเขตมลายูด้วย แต่ ทว่าทางไทยเราได้อ้างว่าหัวเมืองนี้เป็นของไทยมานาน โดยยกเอาวัดชลธาราสิงเห ที่อำเภอตากใบ ซึ่งเป็น วัดไทยมาเป็นข้ออ้าง อังกฤษจึงยอมให้นราธิวาส รวมอยู่ในเขตของไทย
                ในบริเวณวัดชลธาราสิงเห มีสิ่งก่อสร้างทางพุทธศาสนาศิลปะฝีมือแบบไทยปักษ์ใต้ เป็นจุดเด่น และงดงามหลายชิ้น ในโบสถ์เก่าซึ่งสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ซึ่งเขียนโดยฝีมือพระภิกษุชาวสงขลางดงามมาก และถ่ายทอดรูปแบบชีวิตวัฒนธรรมความเป็น อยู่ท้องถิ่นปักษ์ใต้ไว้เด่นน่าสนใจเป็นพิเศษ เปิดให้ชมทุกวันระหว่างเวลา 08.00 น. - 17.00 น. โดยต้องขอ อนุญาตจากท่านเจ้าอาวาสก่อน 
************************************************************************
หมู่บ้านทอน

            หมู่บ้านทอน เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ติดชายทะเล คือชายหาดบ้านทอน ซึ่งเป็นชายหาดยาวขาวสะอาด และยังคงความเป็นธรรมชาติอยู่มาก ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม มีลักษณะเป็นหมู่บ้าน ประมง อาชีพของชาวบ้านส่วนใหญ่จึงทำการประมงเป็นอาชีพหลัก นอกจากนั้นยังใช้เวลาว่างประ ดิษฐ์ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน เช่นการทำเรือกอและจำลอง การสานเสื่อจากใบกระจูด ซึ่งปัจจุบันเป็น ของสินค้าที่ระลึกที่มีชื่อเสียงของจังหวัดนราธิวาส อาจกล่าวได้ว่า เสื่อกระจูดและเรือกอและ คือ สัญลักษณ์ของบ้านทอน และเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของจังหวัดนราธิวาส 



             ถ้าพูดถึงบ้านทอน ทุกคนจะนึกถึงหัตถกรรมพื้นบ้านที่โดดเด่น เช่น เรือกอและจำลอง ที่มีลวดลาย สวยงาม ประณีตละเอียดละอ่อน เป็นสิ่งที่สะท้อนความภาคภูมิใจ ที่จะบอกให้แก่ผู้มาเยือนรู้ว่า ที่นี่ คือดินแดนของชาวไทยมุสลิมผู้มีพื้นฐาน ในการเขียนลวดลายบนลำเรืออันเป็นเอกลักษณ์มาช้านาน ลวดลายบนลำเรือกอและ เป็นการผสมผสานระหว่างลายมาลายู ลายชวาและลายไทย โดยมีสัดส่วน ของลายไทยอยู่มากที่สุด เช่น ลายกนก ลายบัวคว่ำ บัวหงาย ลายหัวพญานาค หนุมานเหิรเวหา รวม ทั้งลายหัวนกในวรรณคดี เช่น "บุหรงซีงอ" สิงหปักษี (ตัวเป็นสิงห์หรือราชสีห์ หัวเป็นนกคาบปลาไว้ ที่หัวเรือ) เชื่อกันว่ามีเขี้ยวเล็บและมีฤทธิ์เดชมาก ดำน้ำเก่ง จึงเป็นที่นิยมของชาวเรือกอและมาแต่ โบราณ

*********************************************************

ป่าพรุสิริธรป่าพรุโต๊ะแดง 


                 เป็นป่าพรุที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศครับ ครอบคลุมพื้นที่ของ อำเภอ คือ อ.ตากใบ อ.สุไหงปาดี และอ. สุไหงโกลก อยู่ห่างจากสุไหงโกลกประมาณ 10กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางสุไหงโกลก-ตากใบ กิโลเมตรที่ เลี้ยวซ้ายตรงแยกชวนะนันท์เข้าไปประมาณ กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายไปอีกประมาณ กิโลเมตร จะถึงที่ทำการการของ "ศูนย์ศึกษาป่าพรุธรรมชาติสิรินธร" ป่าพรุโต๊ะแดงเป็นป่าที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์ป่า และป่าไม้ธรรมชาติที่หาดูได้ยากซึ่งมีสัตว์ป่ากว่า 200 ชนิด และมีอีกหลายชนิดที่ใกล้จะสูญพันธุ์ เช่น เสือดำ กระรอก สี หนูสิงคโปร์ กระรอกบินแก้มแดง ฯลฯ นอกจากนี้ ยังมีพืชพรรณต้นไม้อีกกว่า 400 ชนิดอีกด้วยครับ

****************************************************************


ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ


            พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริให้ก่อตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ขึ้น  เป็นศูนย์รวมกำลังของเจ้าหน้าที่ด้านเกษตร สังคม และการส่งเสริมการศึกษามารวมอยู่ด้วยกัน เพื่อให้ความรู้ และช่วยอนุเคราะห์ด้านวิชาการแก่ประชาชน ในการประกอบอาชีพและพัฒนาตนเอง 

            ศูนย์ศึกษาการพัฒนาแห่งนี้ มีเป้าหมายสำคัญด้านการวิจัยเพื่อปรับปรุงดินพรุ ให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านเกษตรกรรมให้ได้มากที่สุด และมีการศึกษาทดลองเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดครอบครัวแบบครบวงจร ในเรื่องยางพาราและปาล์มน้ำมัน อันเป็นพืชเศรษฐกิจของภาคใต้ด้วย


****************************************************

การแข่งเรือกอและ-เรือยาวหน้าพระที่นั่ง

                การแข่งเรือกอและ-เรือยาวหน้าพระที่นั่งเป็นกิจกรรมสำคัญอย่างหนึ่งในงานของดีเมืองนรา ระหว่างวันที่ 21-25 กันยายนของทุกปี ของจังหวัดนราธิวาส โดยจัดให้มีการแข่งเรือกอและขึ้นในลำน้ำบางนรา บริเวณตรงข้ามกับศาลาประชาคม การแข่งเรือนี้จัดเป็นเทศกาลประจำปี ในช่วงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ตลอดจนพระราชวงศ์ เสด็จแปรพระราชฐาน มาประทับที่พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์



*******************************************************************

วัดเชิงเขา หรือวัดหลวงพ่อแดง 

               หลวงพ่อแดง ธัมมโชโต อดีตเจ้าอาวาส วัดเชิงเขา อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส ยอดเกจิแห่งเทือกเขาบูโดท่านนี้เมื่อมรณภาพแล้ว ร่ายกายไม่เน่าเปื่อย กลับแข็งเป็นหิน แถมยังเป็นที่นับถือของทั้งชาวไทยพุทธและมุสลิมอีกด้วย
ที่มา-https://sites.google.com/site/kitttsakthank/directory